วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ความหมายของจิตวิทยาการกีฬา 




        ภูษณพาส สมนิล (2558) จิตวิทยาการกีฬาจัดเป็นศาสตร์แขนงใหม่ที่กำลังตื่นตัว และเป็นที่สนใจของวงการกีฬา อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศทางยุโรปและอเมริกา ซึ่งถือว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งใน การส่งเสริมและพัฒนาความสามารถให้กับนักกีฬาจิตวิทยาการกีฬาเกิดมาจากความพยายามที่จะประยุกต์ หลักทฤษฎี หลักการ และความจริงทางจิตวิทยาที่มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวกับการแสดงออกของมนุษย์ในการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาไปสู่การปรับปรุงเสริมสร้างและพัฒนาขีดความสามารถ ทั้งทางด้านร่างกายและ จิตใจของผู้ออกกำลังกาย นักกีฬาหรือผู้ฝึกสอนกีฬา เพื่อให้ผลการฝึกและเล่นกีฬาประสบความสำเร็จ ตามจุดมุ่งหมายซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญให้ความหมายทางจิตวิทยาการกีฬาไว้ดังนี้
       1.บัทเลอร์ (Butler, 1997) กล่าวว่า จิตวิทยาการกีฬา มีความหมายเหมือนกับการฝึกทักษะทางจิต ซึ่งอธิบายได้ในรูปแบบของการสร้างความคิดในทางบวก การสร้างความมั่นใจในตนเอง การฝึกสมาธิ การควบคุมความเครียด การสร้างจินตภาพ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติทางด้านจิตวิทยา จิตวิทยาการกีฬา สามารถที่จะเพิ่มทักษะความเป็นเลิศในทางการกีฬา
        2.กรมพลศึกษา (2527) ได้ให้ความหมายของจิตวิทยาการกีฬาไว้ว่า จิตวิทยาการกีฬาเป็นศาสตร์ว่าด้วย การศึกษาพฤติกรรมทางการกีฬาและสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กับการกีฬา
        3.ค้อก (ศราวุธ อินทราพงษ์, 2543; อ้างอิงจาก Cox, 1990) กล่าวว่า จิตวิทยาการกีฬาเป็นการศึกษา และวิเคราะห์พฤติกรรม เพื่อที่จะเข้าใจพฤติกรรมของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกีฬามาประยุกต์ใช้ในกิจกรรม กีฬา และอธิบายถึงความสัมพันธ์ทางจิตใจกับสมรรถภาพทางกาย รวมไปถึงการงดเล่นและการเลิกเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกายของมนุษย์
        4.สมบัติ กาญจนกิจ (2532) กล่าวว่า จิตวิทยาการกีฬาเป็นการศึกษาถึงการนำเอาหลักและทฤษฎี ทางจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ในการกีฬา มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเพื่อให้นักกีฬาใช้ความสามารถทั้งทางด้าน เทคนิค ทักษะ และความสามารถแสดงออก ซึ่งสมรรถภาพทางกายขั้นสูงสุดที่บุคคลสามารถจะแสดงออกมาได้
        5.นัยนา บุพพวงษ์ (2540) กล่าวว่า จิตวิทยาการกีฬาเป็นการศึกษาพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ในการ แสดงออกทางด้านกีฬา ตลอดจนสภาพแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการกีฬา จึงสรุปความหมายโดยสังเขปได้ว่า จิตวิทยาการกีฬาเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่นำเอาหลักและทฤษฎี ทางจิตวิทยาของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกีฬารวมถึงอิทธิพลของสภาพแวดล้อมมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับ สถานการณ์ต่าง ๆ ในการแสดงพฤติกรรมในการเล่น และเลิกเล่นกีฬาที่มีผลต่อการแสดงออกซึ่งความสามารถ ในขั้นสูงสุดในการเล่นกีฬา

จิตวิทยาการกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา ( Sport Psychology for Coaches )




        ผู้ฝึกสอนกีฬา คือ ผู้ทำหน้าที่ในการควบคุมและจัดระบบการฝึกซ้อมเพื่อทำให้นักกีฬาเกิดการพัฒนา ทักษะกีฬา สมรรถภาพทางกาย และสมรรถภาพทางจิตสูงสุด เปรียบเสมือนผู้นำของนักกีฬา ดังนั้นผู้ฝึกสอน กีฬาควรมีภาวะผู้นำที่ดีเพื่อนำนักกีฬาไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้การจะเป็นผู้นำที่ดีต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ ต้องมีการหล่อหลอมสั่งสม และผ่านกระบวนการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยลักษณะที่พบเห็นได้ในผู้ที่มีภาวะผู้นำ คือ การคิด พูด และทำ แล้วคนอื่นเชื่อถือภาวะผู้นำไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตามต้องมี ความรู้บางอย่างในทุกอย่าง หรือรู้ทุกอย่างในบางอย่าง “Know something in everything” หรือ “Know everything in something “ สามารถนำไปใช้ได้ในทุกวิชาชีพซึ่งมีการกล่าวกันว่าในชีวิตของคนๆ หนึ่ง สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ทำอะไรได้สำเร็จ คือ ร้อยละ 80 เกิดจากภาวะผู้นำและอีกร้อยละ 20 เกิดจากวิชาการหรือเรียกว่า กฎ 80 : 20 (Pareto’ s Law) 
        ภาวะผู้นำสามารถสร้างได้จากการเรียนรู้ผสมผสานกับการแสวงหาประสบการณ์อาจไม่มีสูตรตายตัว แต่ต้องเห็นสถานการณ์สามารถปรับตัวเปลี่ยนสถานการณ์ให้เป็นประโยชน์ได้หรือหากบางคนมีโอกาส ทำความเข้าใจกับการเตรียมพร้อมรับกับภาวะผู้นำย่อมถือเป็นโอกาสดีในการพัฒนาตนเองอีกทางหนึ่ง ดังนั้น หากกล่าวถึงบทบาทของผู้ฝึกสอนกีฬาคงหนีไม่พ้นที่ต้องแสดงภาวะของผู้นำให้ถูกต้องปัญหาการใช้จิตวิทยา การกีฬาของประเทศไทยมีอยู่ในระดับค่อนข้างสูง มีความเกี่ยวข้องกับงบประมาณที่มีจำกัด การขาดแคลน ผู้ที่ไม่มีประสบการณ์และพบว่าผู้ฝึกสอนกีฬาขาดความรู้ในการประยุกต์ใช้เทคนิคเกี่ยวกับการฝึกทักษะ ทางจิตใจรวมทั้งนักกีฬาบางคนไม่เห็นถึงความจำเป็นของการฝึกฝนทางจิตใจและคิดว่าการฝึกจิตใจทำให้ เสียเวลาในการฝึกซ้อมทักษะกีฬา ซึ่งเป็นผลมาจากการหล่อหลอมที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้ถูกหล่อหลอมมาตั้งแต่เริ่มเล่นกีฬา ทำให้นักกีฬาไม่ทราบว่าสิ่งเหล่านั้นมีประโยชน์อย่างไรต่อตนเอง (ฉัตรกมล, 2547) 
        การเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาที่ดีต้องมีความสามารถในการนำทีมหรือนักกีฬาของตนเองไปสู่เป้าหมายสูงสุดได้ และต้องมีความสามารถในการจัดการปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกสถานการณ์ อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนักใน บทบาทหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดชอบแต่หากมีความเข้าใจลักษณะความแตกต่างของนักกีฬาแต่ละบุคคลอย่างดีแล้ว ปัญหาทุกอย่างจะสามารถจัดการแก้ไขได้โดยง่ายเราอาจได้ยินคำพูดเหล่านี้มาบ้าง เช่น “ฉันไม่สามารถทำได้ นั่นไม่ใช่ฉัน” “ทุกอย่างอยู่ที่การตัดสินใจของฉัน” คำพูดเหล่านี้มักมาจากผู้ฝึกสอนกีฬาที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อย แต่หากเคยได้ยินคำพูด เช่น “ฉันจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือนิสัยเหล่านั้นให้ได้” “ฉันทำได้ไม่ดีพอดังนั้นฉันจะขอความร่วมมือกับผู้ที่มีความสามารถเฉพาะทางมาทำให้” คำพูดเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับ ผู้ฝึกสอนกีฬาที่รู้จักข้อดีและข้อจำกัดของตนเอง บางครั้งผู้ฝึกสอนกีฬาอาจต้องหาเวลาและโอกาสในการพัฒนาตนเอง เช่น การอ่านหนังสือ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการ พัฒนาทักษะสำหรับการดูแลและให้คำปรึกษากับนักกีฬา หรือปรึกษาหารือกับนักจิตวิทยาการกีฬา นักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถ ผู้ฝึกสอนกีฬาที่มีประสบการณ์ และนักวิจัยทางการกีฬาเพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถของนักกีฬา โดยสรุปผู้ฝึกสอนกีฬาที่ดีต้องสามารถรับรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองตามสภาพ ความเป็นจริงได้

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

คุณสมบัติของผู้ฝึกสอนกีฬา



        คุณสมบัติของผู้ฝึกสอน หมายถึง คุณลักษณะของผู้ฝึกสอนที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความ สามารถของนักกีฬา ผู้ฝึกสอนที่ประสบความสำเร็จควรมีคุณสมบัติที่ดีดังต่อไปนี้ (สุปราณี ขวัญบุญจันทร์, 2545 : 92) 
        1.ผู้ฝึกสอนต้องศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนานักกีฬาให้มีความสามารถ สูงสุด
        2.ผู้ฝึกสอนต้องสามารถเข้าใจถึงความต้องการด้านต่างๆ ของนักกีฬาได้เป็นอย่าวดี
        3. ผู้ฝึกสอนต้องเป็นคนที่มีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส สามารถสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานให้แก่นักกีฬา
        4. ผู้ฝึกสอนต้องเผชิญกับกับสถานการณ์หลายๆ อย่างได้เป็นอย่างดี มีจิตใจเข้มแข็งไม่อ่อนไหวง่าย
        5.ผู้ฝึกสอนต้องมีความยุติธรรม ไม่ลำเอียงหรือเลือกที่รักมักที่ชังในนักกีฬาคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ
        6. ผู้ฝึกสอนสามารถทุ่มเททุกอย่างให้กับการฝึกซ้อม เพื่อพัฒนำนักกีฬาให้เป็นนักกีฬาที่ดีในทุกด้าน
        7. ผู้ฝึกสอนต้องมีความสามารถหลายๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ในกีฬาชนิดที่ตนกาลังฝึกสอนอยู่
        8.ผู้ฝึกสอนต้องมีความรู้ความเข้าใจทำงานด้านเทคนิค และวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นอย่างดี เพื่อ ประยุกต์ใช้ในการฝึกซ้อมนักกีฬาได้
        9. ผู้ฝึกสอนต้องมีความรับผิดชอบสูง มีความสามารถในการวางแผนใช้ความคิดและมีเหตุผล
        10.ผู้ฝึกสอนต้องมีความสามารถในการสาธิตให้นักกีฬาเห็นภาพตามลำดับขั้นตอนต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
        11.ผู้ฝึกสอนต้องเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
        12.ผู้ฝึกสอนต้องมีสุขภาพ สมรรถภาพทางกายและจิตใจดี เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่นักกีฬา
        13. ผู้ฝึกสอนต้องมีบุคลิกภำพที่ดี รูปร่างสมส่วน คล่องแคล่วว่องไว
        14. ผู้ฝึกสอนต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์

บทบาทของผู้ฝึกสอนกีฬา



        ผู้ฝึกสอนกีฬา มีลักษณะการทำงานที่ผสมผสานบทบาทหน้าที่หลายอย่างด้วยกัน คือ 
        1. ผู้นำ ในสถานการณ์ทางการกีฬานั้นเมื่อสมาชิกในทีมต้องการบรรลุเป้าหมายที่ร่วมกันกำหนดไว้ จึงจำเป็นต้องมีผู้ทำหน้าที่เป็นผู้นำ ดังนั้นผู้ฝึกสอนกีฬาจึงมีหน้าที่ในการสวมบทบาทเป็นผู้นำทีมที่ต้องแสดงความน่าเชื่อถือในการนำทีมไปยังเป้าหมายนั้น เช่น ผู้ฝึกสอนกีฬาที่มีประสิทธิภาพควรต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบในทุกสถานการณ์แม้ในยามที่ทีมประสบความล้มเหลวต้องสามารถให้คำชี้แนะกับนักกีฬาของตนเองได้ทั้งในระหว่างการฝึกซ้อมและการแข่งขัน ต้องมีความสามารถในการคิดเทคนิคหรือกุศโลบายในการวางแผนการเล่นและมีการสื่อสารที่ดีทั้งในช่วงก่อนการแข่งขันระหว่างการแข่งขันและหลังการแข่งขัน 
        2. ผู้ตาม ผู้ฝึกสอนกีฬาที่ดีต้องรู้ช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมว่าช่วงใดไม่ควรเป็นผู้นำซึ่งช่วงที่ไม่ได้เป็น ผู้นำก็ควรเป็นผู้ตามที่ดี เพราะผู้ฝึกสอนกีฬาควรมีความสามารถในการรับฟัง เคารพการตัดสินใจ และรับรู้ความรู้สึกหรือความต้องการของนักกีฬาอย่างจริงใจ 
        3. ครูผู้ฝึกสอนกีฬาที่มีประสิทธิภาพ คือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ได้ดีหรือกล่าวได้ว่า ผู้ฝึกสอนกีฬาที่ดีคือ “ครูที่ดี” นั่นเอง ผู้ฝึกสอนกีฬาต้องมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะกีฬาได้ทำให้นักกีฬาพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์และสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และสามารถประสบความสำเร็จได้ ส่วนหนึ่งของกระบวนการศึกษาในการกีฬา คือ การสอนนักกีฬาให้มีความสามารถในการคิดอย่างอิสระ ซึ่งผู้ฝึกสอนกีฬา มีหน้าที่เพียงเป็นผู้ให้คำแนะนำและตอบสนองต่อความคิดที่สร้างสรรค์ของนักกีฬาโดยไม่คาดหวังต่อการกระทำที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่นักกีฬาต้องการ ผู้ฝึกสอนกีฬาต้องมีความรู้เกี่ยวกับทักษะและกุศโลบายในการเล่นกีฬาและสิ่งสำคัญผู้ฝึกสอนกีฬาต้องมีความสามารถเกี่ยวกับการสื่อสารหรือมีรูปแบบการสอนที่สามารถสื่อให้นักกีฬาเข้าใจ 
        4. ตัวแบบ หมายถึงมาตรฐานหรือการแสดงตัวอย่างเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือให้เห็นภาพเพื่อแสดง การเปรียบเทียบ ผู้ฝึกสอนกีฬามักเป็นผู้ที่นักกีฬายึดถือเป็นตัวแบบ เพราะในการสอนทักษะกีฬาต่างๆ ผู้ฝึกสอนกีฬาต้องทำตัวอย่างให้ดูเพื่อให้นักกีฬาปฏิบัติตามหรือแม้แต่แนวทางการดำเนินชีวิต ดังนั้นผู้ฝึกสอน กีฬาควรตระหนักว่าการกระทำทุกอย่างของตนเองมีผลต่อการปฏิบัติตามของนักกีฬาด้วยบทบาทที่มีผลต่อ การลดความน่าเชื่อถือของผู้ฝึกสอนกีฬา เช่น การติดสุรา การใช้ยาที่ผิดกฎหมาย และความต้องการให้นักกีฬาทำทุกอย่างถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์การไม่รักษามาตรฐานในการดูแลนักกีฬาแต่ละคน สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการลดความน่าเชื่อถือและทำให้นักกีฬาสูญเสียความเชื่อมั่นในตัวผู้ฝึกสอนกีฬาได้ 
        5. นักจิตวิทยาหรือผู้ให้คำปรึกษา ผู้ฝึกสอนกีฬาเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับนักกีฬาและควรต้องเข้าถึง ความรู้สึกและความต้องการของนักกีฬา ต้องสามารถรับฟังและตอบสนองความต้องการของนักกีฬาได้ดังนั้น ผู้ฝึกสอนต้องไม่มีท่าทีหรือวิธีการอันใดที่ส่งผลต่อความคิดหรือความรู้สึกของนักกีฬาให้เกิดขึ้นทางลบโดยต้อง มีความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐานในการนำเทคนิคการให้คำปรึกษาไปใช้กับนักกีฬาของตนเอง 
        6. ตัวแทนของพ่อแม่ นักกีฬาต้องการใครสักคนที่สามารถดูแลและมีความสำคัญต่อชีวิตพวกเขา ดังนั้นจึงต้องการความรักและความเอาใจใส่อย่างมากจากใครสักคนที่มีอยู่จริง บทบาทของผู้ฝึกสอนกีฬามิใช่ การเป็นพ่อแม่แต่เป็นลักษณะการดูแลเอาใจใส่ที่มีเป้าหมายเหมือนกับเป็นพ่อแม่เท่านั้น คือ การให้ความรัก ความเข้าใจ เอาใจใส่และดูแลนักกีฬาของตนเปรียบเสมือนเป็นลูกของตนเอง บางครั้งผู้ฝึกสอนกีฬาอาจต้องให้การดูแลนักกีฬาที่ไม่ใช่เพียงแต่ในสนามฝึกซ้อมหรือสนามแข่งขันเท่านั้น หากนักกีฬามีปัญหาในการเรียนหนังสือ มีปัญหากับเพื่อนหรือเรื่องอื่นใดก็ตาม ผู้ฝึกสอนกีฬาต้องแสดงบทบาทในการช่วยเหลือเพื่อมุ่งหวังให้นักกีฬาเกิดพฤติกรรมที่ดีในอนาคตต่อไป

หลักการเกิดพฤติกรรม 


        การทำความเข้าใจกับหลักของพฤติกรรมเป็นสิ่งที่ผู้ฝึกสอนกีฬาต้องเรียนรู้และเข้าใจมีคำกล่าวที่ว่า ผู้ฝึกสอนกีฬาที่ประสบความสำเร็จคือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นนักจิตวิทยาการกีฬาที่ดี เพราะองค์ความรู้เกี่ยวกับ จิตวิทยาการกีฬาเป็นการอธิบายพฤติกรรมของบุคคลซึ่งล้วนมาจากความคิดและความรู้สึกที่อยู่ภายในตัวบุคคลนั้น ดังนั้นความสามารถในการทำความเข้าใจและปรับพฤติกรรมของนักกีฬาได้จึงเป็นสิ่งจำเป็นซึ่ง ประเด็นหลักที่ควรคำนึงถึงในการทำหน้าที่ผู้ฝึกสอนกีฬาให้มีประสิทธิภาพ คือ การทำหน้าที่เป็นผู้สื่อสารที่ดี โดยเป้าหมายของการสื่อสาร คือ การทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับข่าวสาร ผู้ฝึกสอนกีฬาต้อง สามารถสร้างแรงจูงใจและจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักกีฬาได้ โดยแนวทางการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักกีฬา ประกอบด้วย การเป็นผู้สื่อสารที่ดีการสร้างแรงจูงใจให้นักกีฬา และ การทำให้นักกีฬารู้สึกสนุกกับการเล่นกีฬา (ภูษณพาส สมนิล , 2558)

การจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์




        พฤติกรรมที่พึงประสงค์ หมายถึง พฤติกรรมที่สมวัย สมอายุ ถูกกาลเทศะ เหมาะสมสอดคล้องกับ สถานการณ์ ส่งเสริมการเรียนรู้และการเข้าสังคมไม่มีพฤติกรรมที่ทำร้ายตนเองและผู้อื่น สามารถดำเนิน ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ซึ่งมีความหมายตรงข้ามกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมที่ ไม่สมวัยไม่สมอายุไม่ถูกกาลเทศะ ไม่เข้ากับสถานการณ์ ขัดขวางการเรียนรู้และการเข้าสังคม โดยเฉพาะ พฤติกรรมการทำร้ายตนเองและผู้อื่น ทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติได้เทคนิคการจัดการกับ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์มีอยู่หลายวิธีการซึ่งประกอบด้วย การลงโทษ เช่น การดุการไม่ให้สิ่งของหรือไม่ให้ ทำกิจกรรมที่ชอบการเพิกเฉย การให้ของหรือให้ทำพฤติกรรมที่ไม่ชอบ การจับล็อค การปิดตา การตีการให้ ทำพฤติกรรมที่สังคมยอมรับ การขยายเวลาในการสอนให้นานขึ้น เพื่อไม่ให้มีเวลาไปทำพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์การเบี่ยงเบนความสนใจ เป็นต้น ซึ่งในสถานการณ์ทางการกีฬา สิ่งที่นำมาใช้ในการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ทางการกีฬาและเกิดประโยชน์สูงสุด คือ การเป็นผู้สื่อสารที่ดีการสร้างแรงจูงใจให้นักกีฬา การสร้างความสนุกสนานให้นักกีฬา การสร้างความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่มี ความยั่งยืนมากกว่าการลงโทษด้วยวิธีรุนแรง โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้ 
        1. การเป็นผู้สื่อสารที่ดีมีสิ่งที่ควรคำนึง 3 ประการ คือ 
               1.1 ผู้ส่งและผู้รับข้อความ การเป็นผู้พูดที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ แต่การเป็นผู้ฟังที่ดีเป็นสิ่งสำคัญกว่า เพราะหากมีทักษะการพูดที่ดีเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีความสามารถในการรับฟังย่อมก่อให้เกิดการสูญเสียโอกาสในการรับฟังปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้นควรมีการพัฒนาทักษะการฟังควบคู่ไปกับทักษะการพูด โดยผู้ฝึกสอนต้องให้ความสนใจขณะมีการสนทนา พยายามหลีกเลี่ยงการขัดจังหวะการพูด การแสดงออก ทางอารมณ์ที่เหมาะสมกับความหมายที่นักกีฬาสื่อออกมา เช่นเมื่อพูดถึงสิ่งที่ดีสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่มีความสุข ควรแสดงอาการยิ้มรับ ผนวกกับการแสดงความเข้าใจหรือความเห็นใจผ่านทางสายตาร่วมด้วย จากคำกล่าว ที่ว่า “ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ” จึงเป็นสิ่งที่เป็นจริงเสมอมาเพราะแววตาที่เปล่งประกายออกมาสามารถ สะกดความรู้สึกของคู่สนทนาได้เสมอ ทำให้รับรู้ว่าขณะนี้คู่สนทนากำลังรู้สึกอย่างไร ผู้ส่งและผู้รับข้อความ ควรมีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ควรให้ความสนใจในทุกประโยคที่เปล่งออกมาจากการสนทนาครั้งนั้น เพราะข้อความที่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวตน สิ่งที่ต้องการหรือความรู้สึก นึกคิดที่อยู่ภายในจิตใจของคนเราเสมอ ผู้ฝึกสอนกีฬาที่ดีต้องสามารถเป็นได้ทั้งผู้ส่งข้อความที่ถูกต้อง ชัดเจน และมีความคงเส้นคงวาในสิ่งที่พูดออกไป ขณะเดียวกันต้องทำหน้าที่เป็นผู้รับข้อความที่มีประสิทธิภาพด้วย คือ มีความตั้งใจ สามารถจับประเด็นการสนทนาได้อย่างถูกต้อง และตอบสนองข้อความนั้นได้อย่างสมเหตุสมผล และตรงประเด็นเสมอ 
               1.2 ภาษาพูดและภาษาท่าทาง ภาษาพูดเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่การพูดนับเป็น ทักษะที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน เรามักพูดจากความเคยชินเป็นส่วนใหญ่ ขอให้ตระหนักว่าสิ่งที่พูดออกมาควร เป็นสิ่งที่ดีสิ่งที่ถูกต้องและมีความคงเส้นคงวา มีความมั่นคงไม่พูดกลับไปกลับมา เมื่ออยู่ในฐานะผู้ฝึกสอนกีฬา สิ่งที่ควรระลึกอยู่เสมอ คือ การเป็นแบบอย่างที่ดีกับนักกีฬา สามารถสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นในตัวเอง ขณะเดียวกันต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักกีฬาได้ นอกจากภาษาพูดแล้วการพัฒนาการสื่อสารด้วยภาษา ท่าทางเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ซึ่งลักษณะการใช้ภาษาท่าทางประกอบด้วย 5 ลักษณะ คือ การเคลื่อนไหวของ ร่างกาย ลักษณะทางร่างกาย การสัมผัส น้ าเสียง และตำแหน่งร่างกาย การพัฒนาภาษาท่าทางให้ประสบความสำเร็จนั้นควรสังเกตข้อมูลย้อนกลับหลังจากที่ได้ส่งข้อความและรับข้อความตอบกลับนั้นแล้วเพื่อ ตรวจสอบผลตอบรับในสิ่งที่ได้แสดงลักษณะการสื่อสารออกไปซึ่งในแต่ละลักษณะการใช้ภาษาท่าทางมี รายละเอียดดังนี้ 
                  1.2.1 การเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นการเคลื่อนไหวโดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของ ร่างกาย ควรให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น การเคลื่อนไหวของมือขณะพูดเพื่ออธิบายสิ่งต่างๆ ควรให้อยู่ในลักษณะที่มีการเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสม คือ ไม่แกว่งมือหรือโบกสะบัดมากเกินไป หรือการอยู่นิ่ง ไม่ขยับเลยก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีเพราะจะทำให้ขาดความรู้สึกยืดหยุ่นไป
                  1.2.2 ลักษณะทางร่างกาย เป็นการแสดงออกทางร่างกาย เช่น การยืน การนั่ง หรือ การยืนกอดอกแล้วมองไปที่นักกีฬา ต่างมีผลให้นักกีฬาให้ความหมายของการแสดงออกเหล่านั้นได้ต่างๆ นานา ซึ่งอาจมีความถูกต้องและไม่ถูกต้องได้เสมอ                       
                  1.2.3 การสัมผัส เป็นการสัมผัสด้วยอวัยวะต่างๆ เช่น การตบไหล่เบาๆ การวางมือ ที่หน้าขาขณะที่นั่งสนทนาร่วมกัน เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจหรือแสดงความเข้าใจในสิ่งที่ที่ นักกีฬาแสดงออกมา การสัมผัสเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และก่อให้เกิดความรู้สึกมั่นคง 
                  1.2.4 น้ำเสียง น้ำเสียงที่นำมามาใช้ควรเป็นน้ำเสียงที่นุ่มนวลแต่มีความชัดเจน และหนักแน่น หลีกเลี่ยงการใช้น้ำเสียงที่แข็งกระด้าง เสียงดังเหมือนพูดตะโกนตลอดเวลา เพราะจะทำให้เกิด ความรู้สึกไม่ไว้วางใจ อีกทั้งยังสร้างความรู้สึกกลัวมากกว่าความรู้สึกสงบ สบายใจ และการระบายความรู้สึก ที่คับข้องใจของนักกีฬาได้ 
                  1.2.5 ตำแหน่งร่างกาย การจัดวางตำแหน่งของร่างกาย เช่น การยืน การนั่ง การสบ สายตา ควรมีระยะที่เหมาะสมไม่ใกล้จนรู้สึกอึดอัด ขาดความเป็นส่วนตัวหรือไกลจนไม่สามารถส่งความรู้สึกต่อ กันได้การนั่ง หรือ การยืน ควรมีระยะห่างพอประมาณหรือหนึ่งช่วงไหล่ เพื่อไม่ต้องใช้วิธีการตะโกนคุยกันและ ขณะเดียวกันยังเปิดโอกาสให้มีการสัมผัสร่างกายอย่างเหมาะสมได้ในระยะที่พอดี 
               1.3 เนื้อหาและสภาพอารมณ์ เนื้อหาหรือข้อความที่ส่งออกไปควรเป็นเนื้อหาที่มีสาระ เหมาะสมกับเรื่องที่หยิบยกมาสนทนาร่วมกัน หากการสนทนาครั้งนั้นยังไม่สามารถเริ่มต้นด้วยเนื้อหาใดเป็น หลักได้ อาจให้เลือกประเด็นที่เป็นความสนใจร่วมกันมาเป็นประเด็นเปิดการสนทนา เพราะจะเป็นสิ่งที่ง่าย ที่สุดสำหรับการเริ่มต้นพึงระลึกว่าไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาสาระในเรื่องใดก็ตามขอเพียงให้มีเนื้อหาและเป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนานักกีฬาให้ไปสู่ความสำเร็จ นอกจากเนื้อหาที่ต้องมีสาระและเป็นประโยชน์แล้ว ทุกขณะที่มีการส่งข้อความต้องให้ความสำคัญกับสภาพอารมณ์ในขณะนั้นด้วยว่ามีความรู้สึกและแสดงออกไป อย่างสมเหตุสมผลกับสถานการณ์นั้นหรือไม่ เช่น นักกีฬาเกิดการบาดเจ็บ แพทย์แนะนำให้พักรักษาตัวและ งดการเล่นกีฬาเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำให้นักกีฬาเกิดความเครียดเป็นอย่างมากผู้ฝึกสอนกีฬาที่ดควรแสดงอารมณ์ที่บ่งชี้ถึงความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจและร่วมกันหาทางออกร่วมกัน หรือแม้บางครั้งผู้ฝึกสอน กีฬามีอารมณ์ที่ไม่พึงพอใจนักกีฬาก็ยังไม่สมควรแสดงอาการเกรี้ยวกราดออกมา แต่ควรใช้วิธีการผ่อนคลายตนเองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อรู้สึกว่าอารมณ์ตนเองสงบลงแล้ว จึงกลับมาพูดคุยกับนักกีฬาอีกครั้งด้วย เหตุผลต่อไป โดยสรุป คือ ผู้ฝึกสอนกีฬาควรส่งข้อความที่มีเนื้อหาและสภาพอารมณ์ที่สอดคล้องออกมาให้ เป็นไปในทิศทางเดียวกันให้ได้ 

ขั้นตอนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างผู้ฝึกสอนกีฬากับนักกีฬา 


        เป้าหมายของการสื่อสาร คือ การทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างบุคคลที่ส่งข้อความและบุคคลที่รับ ข้อความ โดยกระบวนการส่งข้อความจากผู้ฝึกสอนกีฬาไปยังนักกีฬามี 6 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
        1. ผู้ฝึกสอนกีฬาคิดในสิ่งที่จะนำไปถ่ายทอดกับนักกีฬา
        2. ผู้ฝึกสอนกีฬาทำการแปลในสิ่งที่คิดให้เป็นข้อความที่เหมาะสมสำหรับการส่งต่อข้อความนั้น สู่นักกีฬา
        3. ผู้ฝึกสอนกีฬาถ่ายทอดข้อความในรูปแบบของการสื่อสารแบบใดแบบหนึ่งกับนักกีฬา (ภาษาพูด หรือภาษาท่าทาง)
        4. นักกีฬารับข้อความที่ผู้ฝึกสอนกีฬาถ่ายทอดมา (ถ้านักกีฬาให้ความสนใจ)
        5. นักกีฬาตีความหมายข้อความที่ได้รับจากผู้ฝึกสอนกีฬา
        6. นักกีฬาตอบสนองต่อข้อความที่ได้รับจากผู้ฝึกสอนกีฬา


ตัวอย่าง เทคนิคการสื่อสารที่ใช้จิตวิทยาในการสื่อสารระหว่างผู้ฝึกสอนกับนักกีฬา

ความหมายของจิตวิทยาการกีฬา          ภูษณพาส สมนิล (2558) จิตวิทยาการกีฬาจัดเป็นศาสตร์แขนงใหม่ที่กำลังตื่นตัว และเป็นที่สนใจของวง...