วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ความหมายของจิตวิทยาการกีฬา 




        ภูษณพาส สมนิล (2558) จิตวิทยาการกีฬาจัดเป็นศาสตร์แขนงใหม่ที่กำลังตื่นตัว และเป็นที่สนใจของวงการกีฬา อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศทางยุโรปและอเมริกา ซึ่งถือว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งใน การส่งเสริมและพัฒนาความสามารถให้กับนักกีฬาจิตวิทยาการกีฬาเกิดมาจากความพยายามที่จะประยุกต์ หลักทฤษฎี หลักการ และความจริงทางจิตวิทยาที่มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวกับการแสดงออกของมนุษย์ในการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาไปสู่การปรับปรุงเสริมสร้างและพัฒนาขีดความสามารถ ทั้งทางด้านร่างกายและ จิตใจของผู้ออกกำลังกาย นักกีฬาหรือผู้ฝึกสอนกีฬา เพื่อให้ผลการฝึกและเล่นกีฬาประสบความสำเร็จ ตามจุดมุ่งหมายซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญให้ความหมายทางจิตวิทยาการกีฬาไว้ดังนี้
       1.บัทเลอร์ (Butler, 1997) กล่าวว่า จิตวิทยาการกีฬา มีความหมายเหมือนกับการฝึกทักษะทางจิต ซึ่งอธิบายได้ในรูปแบบของการสร้างความคิดในทางบวก การสร้างความมั่นใจในตนเอง การฝึกสมาธิ การควบคุมความเครียด การสร้างจินตภาพ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติทางด้านจิตวิทยา จิตวิทยาการกีฬา สามารถที่จะเพิ่มทักษะความเป็นเลิศในทางการกีฬา
        2.กรมพลศึกษา (2527) ได้ให้ความหมายของจิตวิทยาการกีฬาไว้ว่า จิตวิทยาการกีฬาเป็นศาสตร์ว่าด้วย การศึกษาพฤติกรรมทางการกีฬาและสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กับการกีฬา
        3.ค้อก (ศราวุธ อินทราพงษ์, 2543; อ้างอิงจาก Cox, 1990) กล่าวว่า จิตวิทยาการกีฬาเป็นการศึกษา และวิเคราะห์พฤติกรรม เพื่อที่จะเข้าใจพฤติกรรมของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกีฬามาประยุกต์ใช้ในกิจกรรม กีฬา และอธิบายถึงความสัมพันธ์ทางจิตใจกับสมรรถภาพทางกาย รวมไปถึงการงดเล่นและการเลิกเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกายของมนุษย์
        4.สมบัติ กาญจนกิจ (2532) กล่าวว่า จิตวิทยาการกีฬาเป็นการศึกษาถึงการนำเอาหลักและทฤษฎี ทางจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ในการกีฬา มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเพื่อให้นักกีฬาใช้ความสามารถทั้งทางด้าน เทคนิค ทักษะ และความสามารถแสดงออก ซึ่งสมรรถภาพทางกายขั้นสูงสุดที่บุคคลสามารถจะแสดงออกมาได้
        5.นัยนา บุพพวงษ์ (2540) กล่าวว่า จิตวิทยาการกีฬาเป็นการศึกษาพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ในการ แสดงออกทางด้านกีฬา ตลอดจนสภาพแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการกีฬา จึงสรุปความหมายโดยสังเขปได้ว่า จิตวิทยาการกีฬาเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่นำเอาหลักและทฤษฎี ทางจิตวิทยาของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกีฬารวมถึงอิทธิพลของสภาพแวดล้อมมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับ สถานการณ์ต่าง ๆ ในการแสดงพฤติกรรมในการเล่น และเลิกเล่นกีฬาที่มีผลต่อการแสดงออกซึ่งความสามารถ ในขั้นสูงสุดในการเล่นกีฬา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความหมายของจิตวิทยาการกีฬา          ภูษณพาส สมนิล (2558) จิตวิทยาการกีฬาจัดเป็นศาสตร์แขนงใหม่ที่กำลังตื่นตัว และเป็นที่สนใจของวง...