วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์




        พฤติกรรมที่พึงประสงค์ หมายถึง พฤติกรรมที่สมวัย สมอายุ ถูกกาลเทศะ เหมาะสมสอดคล้องกับ สถานการณ์ ส่งเสริมการเรียนรู้และการเข้าสังคมไม่มีพฤติกรรมที่ทำร้ายตนเองและผู้อื่น สามารถดำเนิน ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ซึ่งมีความหมายตรงข้ามกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมที่ ไม่สมวัยไม่สมอายุไม่ถูกกาลเทศะ ไม่เข้ากับสถานการณ์ ขัดขวางการเรียนรู้และการเข้าสังคม โดยเฉพาะ พฤติกรรมการทำร้ายตนเองและผู้อื่น ทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติได้เทคนิคการจัดการกับ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์มีอยู่หลายวิธีการซึ่งประกอบด้วย การลงโทษ เช่น การดุการไม่ให้สิ่งของหรือไม่ให้ ทำกิจกรรมที่ชอบการเพิกเฉย การให้ของหรือให้ทำพฤติกรรมที่ไม่ชอบ การจับล็อค การปิดตา การตีการให้ ทำพฤติกรรมที่สังคมยอมรับ การขยายเวลาในการสอนให้นานขึ้น เพื่อไม่ให้มีเวลาไปทำพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์การเบี่ยงเบนความสนใจ เป็นต้น ซึ่งในสถานการณ์ทางการกีฬา สิ่งที่นำมาใช้ในการจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ทางการกีฬาและเกิดประโยชน์สูงสุด คือ การเป็นผู้สื่อสารที่ดีการสร้างแรงจูงใจให้นักกีฬา การสร้างความสนุกสนานให้นักกีฬา การสร้างความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่มี ความยั่งยืนมากกว่าการลงโทษด้วยวิธีรุนแรง โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้ 
        1. การเป็นผู้สื่อสารที่ดีมีสิ่งที่ควรคำนึง 3 ประการ คือ 
               1.1 ผู้ส่งและผู้รับข้อความ การเป็นผู้พูดที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ แต่การเป็นผู้ฟังที่ดีเป็นสิ่งสำคัญกว่า เพราะหากมีทักษะการพูดที่ดีเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีความสามารถในการรับฟังย่อมก่อให้เกิดการสูญเสียโอกาสในการรับฟังปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้นควรมีการพัฒนาทักษะการฟังควบคู่ไปกับทักษะการพูด โดยผู้ฝึกสอนต้องให้ความสนใจขณะมีการสนทนา พยายามหลีกเลี่ยงการขัดจังหวะการพูด การแสดงออก ทางอารมณ์ที่เหมาะสมกับความหมายที่นักกีฬาสื่อออกมา เช่นเมื่อพูดถึงสิ่งที่ดีสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่มีความสุข ควรแสดงอาการยิ้มรับ ผนวกกับการแสดงความเข้าใจหรือความเห็นใจผ่านทางสายตาร่วมด้วย จากคำกล่าว ที่ว่า “ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ” จึงเป็นสิ่งที่เป็นจริงเสมอมาเพราะแววตาที่เปล่งประกายออกมาสามารถ สะกดความรู้สึกของคู่สนทนาได้เสมอ ทำให้รับรู้ว่าขณะนี้คู่สนทนากำลังรู้สึกอย่างไร ผู้ส่งและผู้รับข้อความ ควรมีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ควรให้ความสนใจในทุกประโยคที่เปล่งออกมาจากการสนทนาครั้งนั้น เพราะข้อความที่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวตน สิ่งที่ต้องการหรือความรู้สึก นึกคิดที่อยู่ภายในจิตใจของคนเราเสมอ ผู้ฝึกสอนกีฬาที่ดีต้องสามารถเป็นได้ทั้งผู้ส่งข้อความที่ถูกต้อง ชัดเจน และมีความคงเส้นคงวาในสิ่งที่พูดออกไป ขณะเดียวกันต้องทำหน้าที่เป็นผู้รับข้อความที่มีประสิทธิภาพด้วย คือ มีความตั้งใจ สามารถจับประเด็นการสนทนาได้อย่างถูกต้อง และตอบสนองข้อความนั้นได้อย่างสมเหตุสมผล และตรงประเด็นเสมอ 
               1.2 ภาษาพูดและภาษาท่าทาง ภาษาพูดเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่การพูดนับเป็น ทักษะที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝน เรามักพูดจากความเคยชินเป็นส่วนใหญ่ ขอให้ตระหนักว่าสิ่งที่พูดออกมาควร เป็นสิ่งที่ดีสิ่งที่ถูกต้องและมีความคงเส้นคงวา มีความมั่นคงไม่พูดกลับไปกลับมา เมื่ออยู่ในฐานะผู้ฝึกสอนกีฬา สิ่งที่ควรระลึกอยู่เสมอ คือ การเป็นแบบอย่างที่ดีกับนักกีฬา สามารถสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นในตัวเอง ขณะเดียวกันต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักกีฬาได้ นอกจากภาษาพูดแล้วการพัฒนาการสื่อสารด้วยภาษา ท่าทางเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ซึ่งลักษณะการใช้ภาษาท่าทางประกอบด้วย 5 ลักษณะ คือ การเคลื่อนไหวของ ร่างกาย ลักษณะทางร่างกาย การสัมผัส น้ าเสียง และตำแหน่งร่างกาย การพัฒนาภาษาท่าทางให้ประสบความสำเร็จนั้นควรสังเกตข้อมูลย้อนกลับหลังจากที่ได้ส่งข้อความและรับข้อความตอบกลับนั้นแล้วเพื่อ ตรวจสอบผลตอบรับในสิ่งที่ได้แสดงลักษณะการสื่อสารออกไปซึ่งในแต่ละลักษณะการใช้ภาษาท่าทางมี รายละเอียดดังนี้ 
                  1.2.1 การเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นการเคลื่อนไหวโดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของ ร่างกาย ควรให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น การเคลื่อนไหวของมือขณะพูดเพื่ออธิบายสิ่งต่างๆ ควรให้อยู่ในลักษณะที่มีการเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสม คือ ไม่แกว่งมือหรือโบกสะบัดมากเกินไป หรือการอยู่นิ่ง ไม่ขยับเลยก็ไม่ใช่สิ่งที่ดีเพราะจะทำให้ขาดความรู้สึกยืดหยุ่นไป
                  1.2.2 ลักษณะทางร่างกาย เป็นการแสดงออกทางร่างกาย เช่น การยืน การนั่ง หรือ การยืนกอดอกแล้วมองไปที่นักกีฬา ต่างมีผลให้นักกีฬาให้ความหมายของการแสดงออกเหล่านั้นได้ต่างๆ นานา ซึ่งอาจมีความถูกต้องและไม่ถูกต้องได้เสมอ                       
                  1.2.3 การสัมผัส เป็นการสัมผัสด้วยอวัยวะต่างๆ เช่น การตบไหล่เบาๆ การวางมือ ที่หน้าขาขณะที่นั่งสนทนาร่วมกัน เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจหรือแสดงความเข้าใจในสิ่งที่ที่ นักกีฬาแสดงออกมา การสัมผัสเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และก่อให้เกิดความรู้สึกมั่นคง 
                  1.2.4 น้ำเสียง น้ำเสียงที่นำมามาใช้ควรเป็นน้ำเสียงที่นุ่มนวลแต่มีความชัดเจน และหนักแน่น หลีกเลี่ยงการใช้น้ำเสียงที่แข็งกระด้าง เสียงดังเหมือนพูดตะโกนตลอดเวลา เพราะจะทำให้เกิด ความรู้สึกไม่ไว้วางใจ อีกทั้งยังสร้างความรู้สึกกลัวมากกว่าความรู้สึกสงบ สบายใจ และการระบายความรู้สึก ที่คับข้องใจของนักกีฬาได้ 
                  1.2.5 ตำแหน่งร่างกาย การจัดวางตำแหน่งของร่างกาย เช่น การยืน การนั่ง การสบ สายตา ควรมีระยะที่เหมาะสมไม่ใกล้จนรู้สึกอึดอัด ขาดความเป็นส่วนตัวหรือไกลจนไม่สามารถส่งความรู้สึกต่อ กันได้การนั่ง หรือ การยืน ควรมีระยะห่างพอประมาณหรือหนึ่งช่วงไหล่ เพื่อไม่ต้องใช้วิธีการตะโกนคุยกันและ ขณะเดียวกันยังเปิดโอกาสให้มีการสัมผัสร่างกายอย่างเหมาะสมได้ในระยะที่พอดี 
               1.3 เนื้อหาและสภาพอารมณ์ เนื้อหาหรือข้อความที่ส่งออกไปควรเป็นเนื้อหาที่มีสาระ เหมาะสมกับเรื่องที่หยิบยกมาสนทนาร่วมกัน หากการสนทนาครั้งนั้นยังไม่สามารถเริ่มต้นด้วยเนื้อหาใดเป็น หลักได้ อาจให้เลือกประเด็นที่เป็นความสนใจร่วมกันมาเป็นประเด็นเปิดการสนทนา เพราะจะเป็นสิ่งที่ง่าย ที่สุดสำหรับการเริ่มต้นพึงระลึกว่าไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาสาระในเรื่องใดก็ตามขอเพียงให้มีเนื้อหาและเป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนานักกีฬาให้ไปสู่ความสำเร็จ นอกจากเนื้อหาที่ต้องมีสาระและเป็นประโยชน์แล้ว ทุกขณะที่มีการส่งข้อความต้องให้ความสำคัญกับสภาพอารมณ์ในขณะนั้นด้วยว่ามีความรู้สึกและแสดงออกไป อย่างสมเหตุสมผลกับสถานการณ์นั้นหรือไม่ เช่น นักกีฬาเกิดการบาดเจ็บ แพทย์แนะนำให้พักรักษาตัวและ งดการเล่นกีฬาเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ทำให้นักกีฬาเกิดความเครียดเป็นอย่างมากผู้ฝึกสอนกีฬาที่ดควรแสดงอารมณ์ที่บ่งชี้ถึงความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจและร่วมกันหาทางออกร่วมกัน หรือแม้บางครั้งผู้ฝึกสอน กีฬามีอารมณ์ที่ไม่พึงพอใจนักกีฬาก็ยังไม่สมควรแสดงอาการเกรี้ยวกราดออกมา แต่ควรใช้วิธีการผ่อนคลายตนเองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อรู้สึกว่าอารมณ์ตนเองสงบลงแล้ว จึงกลับมาพูดคุยกับนักกีฬาอีกครั้งด้วย เหตุผลต่อไป โดยสรุป คือ ผู้ฝึกสอนกีฬาควรส่งข้อความที่มีเนื้อหาและสภาพอารมณ์ที่สอดคล้องออกมาให้ เป็นไปในทิศทางเดียวกันให้ได้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความหมายของจิตวิทยาการกีฬา          ภูษณพาส สมนิล (2558) จิตวิทยาการกีฬาจัดเป็นศาสตร์แขนงใหม่ที่กำลังตื่นตัว และเป็นที่สนใจของวง...