จิตวิทยาการกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา ( Sport Psychology for Coaches )
ผู้ฝึกสอนกีฬา คือ ผู้ทำหน้าที่ในการควบคุมและจัดระบบการฝึกซ้อมเพื่อทำให้นักกีฬาเกิดการพัฒนา
ทักษะกีฬา สมรรถภาพทางกาย และสมรรถภาพทางจิตสูงสุด เปรียบเสมือนผู้นำของนักกีฬา ดังนั้นผู้ฝึกสอน
กีฬาควรมีภาวะผู้นำที่ดีเพื่อนำนักกีฬาไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้การจะเป็นผู้นำที่ดีต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ ต้องมีการหล่อหลอมสั่งสม และผ่านกระบวนการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยลักษณะที่พบเห็นได้ในผู้ที่มีภาวะผู้นำ คือ การคิด พูด และทำ แล้วคนอื่นเชื่อถือภาวะผู้นำไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตามต้องมี
ความรู้บางอย่างในทุกอย่าง หรือรู้ทุกอย่างในบางอย่าง “Know something in everything” หรือ “Know
everything in something “ สามารถนำไปใช้ได้ในทุกวิชาชีพซึ่งมีการกล่าวกันว่าในชีวิตของคนๆ หนึ่ง
สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ทำอะไรได้สำเร็จ คือ ร้อยละ 80 เกิดจากภาวะผู้นำและอีกร้อยละ 20 เกิดจากวิชาการหรือเรียกว่า กฎ 80 : 20 (Pareto’ s Law)
ภาวะผู้นำสามารถสร้างได้จากการเรียนรู้ผสมผสานกับการแสวงหาประสบการณ์อาจไม่มีสูตรตายตัว
แต่ต้องเห็นสถานการณ์สามารถปรับตัวเปลี่ยนสถานการณ์ให้เป็นประโยชน์ได้หรือหากบางคนมีโอกาส
ทำความเข้าใจกับการเตรียมพร้อมรับกับภาวะผู้นำย่อมถือเป็นโอกาสดีในการพัฒนาตนเองอีกทางหนึ่ง ดังนั้น
หากกล่าวถึงบทบาทของผู้ฝึกสอนกีฬาคงหนีไม่พ้นที่ต้องแสดงภาวะของผู้นำให้ถูกต้องปัญหาการใช้จิตวิทยา
การกีฬาของประเทศไทยมีอยู่ในระดับค่อนข้างสูง มีความเกี่ยวข้องกับงบประมาณที่มีจำกัด การขาดแคลน
ผู้ที่ไม่มีประสบการณ์และพบว่าผู้ฝึกสอนกีฬาขาดความรู้ในการประยุกต์ใช้เทคนิคเกี่ยวกับการฝึกทักษะ
ทางจิตใจรวมทั้งนักกีฬาบางคนไม่เห็นถึงความจำเป็นของการฝึกฝนทางจิตใจและคิดว่าการฝึกจิตใจทำให้
เสียเวลาในการฝึกซ้อมทักษะกีฬา ซึ่งเป็นผลมาจากการหล่อหลอมที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้ถูกหล่อหลอมมาตั้งแต่เริ่มเล่นกีฬา ทำให้นักกีฬาไม่ทราบว่าสิ่งเหล่านั้นมีประโยชน์อย่างไรต่อตนเอง (ฉัตรกมล, 2547)
การเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาที่ดีต้องมีความสามารถในการนำทีมหรือนักกีฬาของตนเองไปสู่เป้าหมายสูงสุดได้ และต้องมีความสามารถในการจัดการปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกสถานการณ์ อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนักใน
บทบาทหน้าที่ซึ่งต้องรับผิดชอบแต่หากมีความเข้าใจลักษณะความแตกต่างของนักกีฬาแต่ละบุคคลอย่างดีแล้ว
ปัญหาทุกอย่างจะสามารถจัดการแก้ไขได้โดยง่ายเราอาจได้ยินคำพูดเหล่านี้มาบ้าง เช่น “ฉันไม่สามารถทำได้
นั่นไม่ใช่ฉัน” “ทุกอย่างอยู่ที่การตัดสินใจของฉัน” คำพูดเหล่านี้มักมาจากผู้ฝึกสอนกีฬาที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อย แต่หากเคยได้ยินคำพูด เช่น “ฉันจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือนิสัยเหล่านั้นให้ได้” “ฉันทำได้ไม่ดีพอดังนั้นฉันจะขอความร่วมมือกับผู้ที่มีความสามารถเฉพาะทางมาทำให้” คำพูดเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับ
ผู้ฝึกสอนกีฬาที่รู้จักข้อดีและข้อจำกัดของตนเอง บางครั้งผู้ฝึกสอนกีฬาอาจต้องหาเวลาและโอกาสในการพัฒนาตนเอง เช่น การอ่านหนังสือ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการ
พัฒนาทักษะสำหรับการดูแลและให้คำปรึกษากับนักกีฬา หรือปรึกษาหารือกับนักจิตวิทยาการกีฬา
นักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถ ผู้ฝึกสอนกีฬาที่มีประสบการณ์ และนักวิจัยทางการกีฬาเพื่อเพิ่ม
ขีดความสามารถของนักกีฬา โดยสรุปผู้ฝึกสอนกีฬาที่ดีต้องสามารถรับรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองตามสภาพ
ความเป็นจริงได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น