สาเหตุที่ทำให้การสื่อสารขาดประสิทธิภาพระหว่างผู้ฝึกสอนกีฬากับนักกีฬา
2. การถ่ายทอดข้อความไม่มีภาษาพูดหรือภาษาท่าทางที่ดีพอ
3. นักกีฬาไม่ได้รับข้อความที่ส่งไปเพราะขาดความสนใจ
4. นักกีฬาขาดการฟังหรือทักษะการสื่อสารด้วยภาษาท่าทางทำให้ตีความหมายของข้อความผิดพลาด หรือไม่เข้าใจข้อความนั้น
5. นักกีฬาเข้าใจความหมายของข้อความ แต่ตีความหมายข้อความนั้นผิดพลาดไปจากความเป็นจริง
6. ข้อความที่ผู้ฝึกสอนกีฬาส่งไปขาดประสิทธิภาพ นักกีฬาสับสนเกี่ยวกับความหมาย
7. การสร้างแรงจูงใจให้นักกีฬา แรงจูงใจมีอิทธิพลต่อรูปแบบการคิดและผลักดันให้เกิดพฤติกรรม นอกจากนั้นแรงจูงใจยังเป็นตัวขับเคลื่อนพฤติกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการที่พึงปรารถนา นักจิตวิทยาการกีฬาเรียนรู้ว่าสิ่งที่นักกีฬาต้องการมากที่สุดมี 2 ประการ คือ ความสนุก ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการปลุกเร้าหรือเป็นการกระตุ้นและสร้างความตื่นเต้นและความรู้สึกว่าตนเอง มีคุณค่า รู้สึกว่าตนเองมี ความสามารถและมีโอกาสที่ประสบความสำเร็จได้
8. การสร้างความสนุกสนานให้นักกีฬา มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความต้องการในการปลุกเร้าและความ ตื่นเต้น ซึ่งในทางกีฬาได้คำนึงถึงระดับการกระตุ้นที่เหมาะสมและการมีประสบการณ์ไหลลื่น ซึ่งระดับของ ความท้าทายที่เหมาะสมย่อมนำไปสู่ความสนุกในการฝึกซ้อม การสร้างความสนุกในการฝึกซ้อมจำเป็นต้องคำนึงถึงแหล่งที่มาของความสนุกร่วมด้วย ซึ่งส่วนหนึ่งของความสนุกต้องมาจากการยอมรับเหตุผลสำหรับการ เข้าร่วมกิจกรรมกีฬา ต้องมีการสร้างกิจกรรมที่สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมภายในทีมให้เกิดความน่าสนใจ ท้าทาย และน่าตื่นเต้นอยู่เสมอ
9. นักกีฬาต้องการความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ผู้ฝึกสอนกีฬาต้องสร้างให้นักกีฬาเกิดการเรียนรู้และให้ ความสำคัญกับการมองเห็นคุณค่าในตนเองไม่ว่าผลการแข่งขันจะแพ้หรือชนะก็ตาม นักกีฬาต้องตระหนักว่า ตนเองมีคุณค่าอยู่เสมอเปิดโอกาสให้นักกีฬาได้ใช้ความคิดในการจินตนาการเกี่ยวกับตนเองในทุกสถานการณ์ ที่จะเกิดขึ้นจริง และเตรียมพร้อมรับกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ ให้ความสำคัญกับความคิดของนักกีฬาว่า นักกีฬาคิดอย่างไรเมื่อได้รับชัยชนะและนักกีฬาคิดอย่างไรเมื่อได้รับความพ่ายแพ้ คำตอบของนักกีฬาจะเป็น สิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความคิดและการมองเห็นคุณค่าในตนเองเป็นอย่างดี นักกีฬาที่ได้รับการฝึกฝนทักษะ ทางจิตใจมาอย่างดีไม่ว่าตนเองจะประสบความสำเร็จหรือประสบความพ่ายแพ้มักมีคำตอบให้ตนเองทางบวก อยู่เสมอ เมื่อพ่ายแพ้ไม่สมหวังในสิ่งที่ตั้งใจคงปฏิเสธที่จะเสียใจไม่ได้แต่นักกีฬาจะสามารถฟันฝ่าความเสียใจ ความท้อแท้และเข้าสู่กระบวนการคิดทางบวกได้อย่างรวดเร็ว การคิดทางบวกเป็นบ่อเกิดของสิ่งสร้างสรรค์ที่ดี ต่อไปในอนาคตเสมอ ตัวอย่างความคิดที่มักเกิดขึ้นกับนักกีฬา คือ
การคิดอย่างผู้ชนะ เช่น
“ความสำเร็จคือสิ่งที่สร้างความมั่นใจว่าจะทำได้อีก”
“ความล้มเหลวคือแรงผลักดันที่จะท าให้สำเร็จ”
“เชื่อมั่นและเห็นคุณค่าความสามารถของตนเอง”
การคิดอย่างผู้แพ้เช่น
“ความพยายามไม่ได้ช่วยทำให้อะไรดีขึ้น”
“ปัญหาของความล้มเหลวอยู่ที่ความสามารถฉันเอง จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะ พยายามทำให้ดีหรือ ทำให้มากขึ้น” นักกีฬาที่มีความคิดอย่างผู้แพ้ มักมีกลไกการป้องกันตนเองอยู่เสมอ คือ มักหลีกเลี่ยงการแสดง ความสามารถอย่างเต็มที่ชอบแก้ตัว เช่น ขาฉันเจ็บทำให้เล่นไม่ดีหรือมีบางอย่างเข้าตาฉันก่อนยิงลูกโทษ และ มักปฏิเสธความสำเร็จที่ตนเองต้องการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น